วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ลักษณะของวรรณกรรมไทย

วรรณกรรมไทยปัจจุบันมีลักษณะเด่น 4 ประการ
       1.รูปแบบ วรรณกรรมไทยปัจจุบันมีรูปแบบการแต่งที่ขยายตัวมากขึ้น
                1.)ร้อยกรอง ปัจจุบันมุ่งเน้นการนำเสนอ ข้อคิดเห็นหรือความคิด มากกว่าเสนอความไพเราะงดงามตามหลักวรรณศิลป์ของร้อยกรองสมัยก่อน จึงมีลักษณะที่สั้น ไม่เคร่งครัดในด้านฉันทลักษณ์และไม่สนใจธรรมเนียมนิยมในการแต่ง นิยมใช้ถ้อยคำง่ายๆ ภาษาพูดที่มีความแจ่มชัด สื่อความคิดที่กร้าวแข็งและรุนแรง เนื้อหาสะท้อนสภาพสังคม
                2.)เรื่องสั้น รูปแบบการเขียนบันเทิงคดีแบบใหม่ที่ได้รับความนิยมจากผู้อ่านอย่างกว้างขวางมีลักษณะเป็นร้อยแก้วเรื่องสมมติที่มีขนาดสั้น เหตุการณ์และสถานที่ในเรื่องมีลักษณะสมจริงมากที่สุด ซึ่งแบ่งได้หลายแนว เช่น แนวสัญลักษณ์(Symbolism) แนวธรรมชาตินิยม(Maturalism) แนวอัตถิภาวะนิยม(Existentialism)
                3.)นวนิยาย เป็นรูปแบบการเขียนบันเทิงคดีแบบใหม่แต่มีขาดยาวกว่า เพราะผู้แต่งสามารถกำหนดตัวบุคคล เหตุการณ์และสถานที่ในเรื่องโดยไม่จำกัด ซึ่งแนวการเขียนแบ่งเป็นหลายแบบเช่น แนวพาฝัน  แนวชีวิตครอบครัว  แนวจิตวิทยา  แนวลูกทุ่ง  แนวราชสำนัก และแนวการเมือง
หากแบ่งตามแนวปรัชญาตะวันตก แนวโรแมนติก(Romanticism)  แนวสัจนิยม(Realism)  แนวสัจนิยมใหม่(Neo-Realism)  แนวธรรมชาตินิยม(Naturalism)
                4.)บทละครพูด บทละครที่ได้รับอิทธิพลจากตะวันตกในสมัย ร.5 บทละครสมัยใหม่มีทั้งเป็นบทละครแปล บทละครแปลง และบทละครที่คนไทยคิดแต่งขึ้นมาเอง บทละครปัจจุบันจึงมิได้มุ่งเขียนเพื่อนำไปใช้แสดงจริงๆ หากแต่มุ่งเขียนขึ้นเพื่อให้บทละครเป็นเครื่องมือในการสื่อสารความคิดของผู้แต่งไปยังผู้อ่าน
                5.)เป็นการเขียนร้อยแก้วที่มุ่งเน้นข้อเท็จจริงหรือความคิดเห็นเป็นอันดับแรก เน้นความ
พลิดเพลินเป็นรอง สารคดีแยกประเภทได้หลายแบบ เช่น
                        -แบ่งตามขนาดของสารคดี ได้แก่ บทความ บทบรรณาธิการ และสารคดีขนาดยาว
                        -แบ่งตามลักษณะเนื้อหาออกเป็น 2 ประเภท คือสารคดีเชิงวิทยาศาสตร์แขนงต่างๆ เช่น จิตวิทยา วิทยาศาสตร์   และสารคดีประเภทประวัติศาสตร์ กับสารคดีเชิงบันทึกประสบการณ์ เช่นสารคดีท่องเที่ยว สารคดีชีวประวัติ
                        -แบ่งตามลักษณะการเขียน เช่น บทความ เรียงความ และสารคดีประเภทเรื่องเล่าจากประสบการณ์



            2.แนวคิดหรือปรัชญาของเรื่อง
                 วรรณกรรมไทยปัจจุบันนิยมนำเสนอแนวคิดตามแนวปรัชญาของวรรณกรรมตะวันตก โดยเฉพาะวรรณกรรมประเภทนวนิยาย เรื่องสั้น บทละครพูดเป็นต้น
            3.เนื้อหา
                 เนื้อหาวรรณกรรมไทยปัจจุบันจะเป็นเรื่องราวของสามัญชน ซึ่งมีสภาพชีวิตความเป็นอยู่ในสังคมเสมือนจริง โดยมีฉากในท้องเรื่องเป็นภาพจำลองของสังคมปัจจุบัน ไม่นิยมกล่าวถึงเรื่องนรกสวรรค์ แต่หันมากล่าวถึงเรื่องราวต่างๆที่เป็นเรื่องใกล้ตัวผู้อ่านแทน เช่นเรื่องการเมือง กฎหมาย เศรษฐกิจ การธนาคาร เป็นต้น
            4.กลวิธีในการแต่ง
                  ปัจจุบันวรรณกรรมไทยมีกลวิธีการแต่งที่ชวนให้น่าติดตามอย่างมากมาย เช่นการเปิดเรื่องอาจเริ่มจากการ ยกตัวอย่างสุภาษิตคำคม  มีการดำเนินเรื่องที่น่าสนใจ การให้ตัวละครต่างๆผลัดกันเล่าเรื่อง การใช้สัญลักษณ์ต่างๆเสนอแนวคิด และการปิดเรื่องที่ใช้วิธีการปิดให้ผู้อ่านเกิดความประทับใจ การปิดแบบหักมุมหรือพลิกความคาดหมาย โดยกลวิธีต่างเหล่านี้ ไทยเราได้รับอิทธิจากกลวิธีการแต่งของตะวันตกมาทั้งนั้น

แหล่งอ้างอิง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น