วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ลักษณะของวรรณกรรมไทย

วรรณกรรมไทยปัจจุบันมีลักษณะเด่น 4 ประการ
       1.รูปแบบ วรรณกรรมไทยปัจจุบันมีรูปแบบการแต่งที่ขยายตัวมากขึ้น
                1.)ร้อยกรอง ปัจจุบันมุ่งเน้นการนำเสนอ ข้อคิดเห็นหรือความคิด มากกว่าเสนอความไพเราะงดงามตามหลักวรรณศิลป์ของร้อยกรองสมัยก่อน จึงมีลักษณะที่สั้น ไม่เคร่งครัดในด้านฉันทลักษณ์และไม่สนใจธรรมเนียมนิยมในการแต่ง นิยมใช้ถ้อยคำง่ายๆ ภาษาพูดที่มีความแจ่มชัด สื่อความคิดที่กร้าวแข็งและรุนแรง เนื้อหาสะท้อนสภาพสังคม
                2.)เรื่องสั้น รูปแบบการเขียนบันเทิงคดีแบบใหม่ที่ได้รับความนิยมจากผู้อ่านอย่างกว้างขวางมีลักษณะเป็นร้อยแก้วเรื่องสมมติที่มีขนาดสั้น เหตุการณ์และสถานที่ในเรื่องมีลักษณะสมจริงมากที่สุด ซึ่งแบ่งได้หลายแนว เช่น แนวสัญลักษณ์(Symbolism) แนวธรรมชาตินิยม(Maturalism) แนวอัตถิภาวะนิยม(Existentialism)
                3.)นวนิยาย เป็นรูปแบบการเขียนบันเทิงคดีแบบใหม่แต่มีขาดยาวกว่า เพราะผู้แต่งสามารถกำหนดตัวบุคคล เหตุการณ์และสถานที่ในเรื่องโดยไม่จำกัด ซึ่งแนวการเขียนแบ่งเป็นหลายแบบเช่น แนวพาฝัน  แนวชีวิตครอบครัว  แนวจิตวิทยา  แนวลูกทุ่ง  แนวราชสำนัก และแนวการเมือง
หากแบ่งตามแนวปรัชญาตะวันตก แนวโรแมนติก(Romanticism)  แนวสัจนิยม(Realism)  แนวสัจนิยมใหม่(Neo-Realism)  แนวธรรมชาตินิยม(Naturalism)
                4.)บทละครพูด บทละครที่ได้รับอิทธิพลจากตะวันตกในสมัย ร.5 บทละครสมัยใหม่มีทั้งเป็นบทละครแปล บทละครแปลง และบทละครที่คนไทยคิดแต่งขึ้นมาเอง บทละครปัจจุบันจึงมิได้มุ่งเขียนเพื่อนำไปใช้แสดงจริงๆ หากแต่มุ่งเขียนขึ้นเพื่อให้บทละครเป็นเครื่องมือในการสื่อสารความคิดของผู้แต่งไปยังผู้อ่าน
                5.)เป็นการเขียนร้อยแก้วที่มุ่งเน้นข้อเท็จจริงหรือความคิดเห็นเป็นอันดับแรก เน้นความ
พลิดเพลินเป็นรอง สารคดีแยกประเภทได้หลายแบบ เช่น
                        -แบ่งตามขนาดของสารคดี ได้แก่ บทความ บทบรรณาธิการ และสารคดีขนาดยาว
                        -แบ่งตามลักษณะเนื้อหาออกเป็น 2 ประเภท คือสารคดีเชิงวิทยาศาสตร์แขนงต่างๆ เช่น จิตวิทยา วิทยาศาสตร์   และสารคดีประเภทประวัติศาสตร์ กับสารคดีเชิงบันทึกประสบการณ์ เช่นสารคดีท่องเที่ยว สารคดีชีวประวัติ
                        -แบ่งตามลักษณะการเขียน เช่น บทความ เรียงความ และสารคดีประเภทเรื่องเล่าจากประสบการณ์


ประเภทวรรณกรรม




ประเภทของงานวรรณกรรม (อังกฤษLiterary genre; )เช่น นวนิยาย หรือ เรื่องสั้นในสมัยคลาสสิก สมัยก่อน วรรณกรรมถูกแบ่งออกเป็นสามประเภทใหญ่ คือ
ซึ่งภายหลัง ประเภททที่สาม คือ กวีนิพนธ์บทละคร ถูกแบ่งต่อไปเป็น โศกนาฏกรรม (Tragedy) และ สุขนาฏกรรม (Comedy)
งานแต่ละประเภทมีกฎตายตัว จนกระทั่งถึงศตวรรษที่ 18 (ค.ศ. 1700 หรือ พ.ศ. 2243) ประเภทของวรรณกรรมได้ถูกแบ่งแยกอย่างชัดเจนมากขึ้น แต่หลังจากนั้นไม่นาน นักเขียนต่าง ๆ ก็ได้นำรูปแบบหลาย ๆ อย่าง มาผสมกันในงานเขียนของตัวเอง ทำให้งานเขียนของตัวเองนั้นมีเอกลักษณ์

รายชื่อประเภทของงานวรรณกรรมต่าง ๆ

    วรรณกรรม


หนังสือเก่าในห้องสมุด
วรรณกรรม (อังกฤษLiterature) หมายถึง งานเขียนที่แต่งขึ้นหรืองานศิลปะ ที่เป็นผลงานอันเกิดจากการคิด และจินตนาการ แล้วเรียบเรียง นำมาบอกเล่า บันทึก ขับร้อง หรือสื่อออกมาด้วยกลวิธีต่างๆ โดยทั่วไปแล้ว จะแบ่งวรรณกรรมเป็น 2 ประเภท คือ วรรณกรรมลายลักษณ์คือวรรณกรรมที่บันทึกเป็นตัวหนังสือ และวรรณกรรมมุขปาฐะ อันได้แก่วรรณกรรมที่เล่าด้วยปาก ไม่ได้จดบันทึก
ด้วยเหตุนี้ วรรณกรรมจึงมีความหมายครอบคลุมกว้าง ถึงประวัติ นิทาน ตำนาน เรื่องเล่า ขำขัน เรื่องสั้น นวนิยาย บทเพลง คำคม เป็นต้น
วรรณกรรมเป็นผลงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการใช้ภาษา เพื่อการสื่อสารเรื่องราวให้เข้าใจระหว่างมนุษย์ ภาษาเป็นสิ่งที่มนุษย์คิดค้น และสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อใช้สื่อความหมาย เรื่องราวต่าง ๆ ภาษาที่มนุษย์ใช้ในการสื่อสารได้แก่
  1. ภาษาพูด โดยการใช้เสียง
  2. ภาษาเขียน โดยการใช้ตัวอักษร ตัวเลข สัญลักษณ์ และภาพ
  3. ภาษาท่าทาง โดยการใช้กิริยาท่าทาง หรือประกอบวัสดุอย่างอื่น
ความงามหรือศิลปะในการใช้ภาษาขึ้นอยู่กับ การใช้ภาษาให้ถูกต้อง ชัดเจน และ เหมาะสมกับเวลา โอกาส และบุคคล นอกจากนี้ ภาษาแต่ละภาษายังสามารถปรุงแต่ง ให้เกิดความเหมาะสม ไพเราะ หรือสวยงามได้ นอกจากนี้ ยังมีการบัญญัติคำราชาศัพท์ คำสุภาพ ขึ้นมาใช้ได้อย่างเหมาะสม แสดงให้เห็นวัฒนธรรมที่เป็นเลิศทางการใช้ภาษาที่ควรดำรงและยึดถือต่อไป ผู้สร้างสรรค์งานวรรณกรรม เรียกว่า นักเขียน นักประพันธ์ หรือ กวี (Writer or Poet)
วรรณกรรมไทย แบ่งออกได้ 2 ชนิด คือ
  1. ร้อยแก้ว เป็นข้อความเรียงที่แสดงเนื้อหา เรื่องราวต่าง ๆ
  2. ร้อยกรอง เป็นข้อความที่มีการใช้คำที่สัมผัส คล้องจอง ทำให้สัมผัสได้ถึงความงามของภาษาไทย ร้อยกรองมีหลายแบบ คือ โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน และร่าย
  องค์ประกอบของวรรณคดี


    ลักษณะของวรรณคดี
      วรรณคดีมีลักษณะทั่วไปดังนี้
๑. เนื้อหาเหมาะกับรูปแบบของคำประพันธ์ กล่าวคือกวี ควรจะให้เหมาะสมกับเนื้อหา เช่น การเทิดทูนบุคคลหรือชื่นชมบ้านเมือง ควรใช้คำประพันธ์ประเภทลิลิตหรือคำฉันท์
๒. ภาษาไพเราะและประณีต ซึ่งวรรณคดีไทยจะมุ่งความงามของอรรถรสเป็นสำคัญ มิใช่มุ่งแสดงชีวิตโดยตรงอย่างเดียว ฉะนั้น การใช้ภาษาหรือถ้อยคำจึงต้องประณีต กินใจ โดยเฉพาะคำประพันธ์มักนิยมเล่นสัมผัสหรืออุปมาอุปไมยเพื่อทำให้เกิดจินตนาการและความไพเราะ
๓. ให้คุณค่าทั้งทางสุนทรียภาพและสารประโยชน์ทั้งทางส่วนบุคคลและสังคม
๔. ให้ความบันเทิงใจ ก่อให้เกิดความสะเทือนอารมณ์และให้จินตนาการ

วันจันทร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

วรรณคดีเรื่อง กากี
ท้าวพรหมทัตกษัตริย์แห่งนครพาราณสีแม้จะอายุมากแล้ว แต่ก็มีพระมเหสีรูปงามกลิ่นกายหอมชื่อว่านางกากี พระองค์รักและหลงใหลนางกากี ไม่ให้มหาดเล็ก คนสนิทที่เป็นชายเข้าใกล้หรือได้เห็นนางยกเว้นที่จำเป็นเพียงไม่กี่คนเท่านั้น หนึ่งในหนุ่มคนสนิทที่สามารถเข้าใกล้นางกากีได้คือ “นาฏกุเวร” ผู้เป็นคนธรรพ์รูปงามมีหน้าที่บรรเลงดนตรี แต่งกลอน ขับกล่อม ให้แก่ท้าวพรหมทัต ในยามที่พระองค์เล่นสกากีฬาโปรดปรานกับพระสหายสนิท ตามปกติคนธรรพ์เป็นกึ่งมนุษย์กึ่งเทวดาที่มีความสามารถสูง ยิ่งเป็นนาฏกุเวรผู้มีความเปรื่องปราชญ์ก็ยิ่งเป็นที่รักใคร่ไว้วางพระทัยของท้าวพรหมทัต นอกจากพระประยูรญาติที่ท้าวพรหมทัตโปรดให้เล่นสกาด้วยแล้ว พระองค์มีสหายสนิทผู้มีความลึกลับที่มีฝีมือการทอดสกาเทียบเท่าพระองค์นามว่าเวนไตย เวนไตยเป็นพญาครุฑที่มีวิมานชื่อฉิมพลี ตั้งอยู่ที่เชิงเขาพระสุเมรุเหนือดงงิ้ว ผู้มีร่างมาเป็นมานพรูปร่างสง่างามในเมืองมนุษย์ เวนไตยไม่ยอมบอกว่าตัวเองมาจากที่ไหน แต่ก็มาเล่นสกากับท้าวพรหมทัตอย่างสม่ำเสมอทุกๆ เจ็ดวัน
คำร่ำลือถึงความสง่างามของพญาเวนไตยจากสนมกำนัลมาเข้าหูนางกากี นางกากีลองแอบดูครั้งหนึ่งก็พอดีกับเวนไตยมองมา ทั้งคู่ต่างตื่นเต้นในความงามของกันและกันทำให้เวนไตยถึงกับทำอุบายลักพานางกากีไปจากท้าวพรหมทัต โดยการจำแลงตัวเป็นพญาครุฑบินไปบังแสงอาทิตย์ที่ส่องเมืองพาราณสีทำให้เมืองมืดมิดและอลหม่านจากการเกิดพายุใหญ่กระหน่ำ เวนไตยฉวยโอกาสนี้พาตัวนางกากีไปสมสู่ ณ วิมานฉิมพลี เนื่องจากนางกากีก็พึงพอใจเวนไตยเมื่อยามเป็นชายหนุ่มรูปร่างสง่างามในวิมานฉิมพลี ท้าวพรหมทัตเป็นทุกข์ระทมเมื่อนางกากีมเหสีสุดสวาทได้หายไปไม่สามารถตามหาได้ นาฏกุเวรผู้แอบหลงรักในรูปและกลิ่นกายของนางกากีอาสานำตัวนางกากีกลับ เพราะรู้ระแคะระคายเนื่องจากเหตุการณ์ในวันที่เวนไตยสบตากับนางกากีไม่พ้นจากสายตาของคนธรรพ์หนุ่มนี้ไปได้ นาฏกุเวรได้ผูกกลอนขับกล่อมขณะที่เวนไตยเล่นสกากับท้าวพรหมทัตจนสังเกตความผิดปรกติของเวนไตยได้ เมื่อท้าวพรหมทัตทรงอนุญาต การเล่นสกาครั้งต่อมานาฏกุเวรจึงแปลงร่างเป็นตัวไรเกาะปีกเวนไตยเมื่อเขากลายเป็นพญาครุฑตามไปถึงวิมานฉิมพลี เมื่อเวนไตยออกไปปฏิบัติภารกิจนอกวิมาน ก็คืนร่างเป็นนาฏกุเวรคนเดิม ด้วยความเสน่หาที่มีต่อนางกากี นาฏกุเวรก็ขอร่วมอภิรมย์สมสู่กับนางกากี โดยขู่ว่าจะไม่เปิดเผยความลับระหว่างเวนไตยกับนาง นางกากีเห็นว่านาฏกุเวรเปิดเผยว่ารักใคร่ตัวนางมาก่อน ก็ยอมสมสู่ด้วยเมื่อถึงกำหนดนัดเล่นสกากับท้าวพรหมทัต นาฏกุเวรก็จำแลงเป็นตัวไรเกาะปีพญาครุฑเวนไตยกลับเมืองพาราณสี และได้กราบทูลให้ท้าวพรหมทัตทำเป็นไม่ทราบเรื่อง ระหว่างการเล่นสกานาฏกุเวรก็แต่งกลอนยั่วยุให้เวนไตยโกรธ โดยพรรณาถึงรายละเอียดทุกอย่างที่นางกากีมี แสดงว่านาฏกุเวรได้ร่วมอภิรมย์รักโดยนางกากีก็สมัครใจ เวนไตยโกรธมากที่นางกากีทรยศต่อตัวเอง เมื่อกลับไปก็คาดคั้นเอาความจริงกับนางกากี แต่นางกากียอมรับตอนหลังอ้างว่าถูกบังคับ ซึ่งเวนไตยไม่เชื่อและส่งนางกากีกลับคืนเมืองพาราณสี ท้าวพรหมทัตทั้งรักทั้งแค้นทั้งอับอาย ทรงตัดเยื่อใยนางกากีและสั่งให้มหาดเล็กนำไปลอยแพในมหาสมุทร
นางกากีต้องเผชิญเคราะห์กรรมอย่างแสนสาหัส เมื่อนายสำเภามาพบนางสลบไสลบนแพ เรือนร่างที่สวยงามย่อมเป็นที่หมายปองของนายสำเภา เขาจึงได้นางกากีเป็นภรรยา ต่อมาโจรสลัดได้ปล้นเรือนายสำเภาและหัวหน้าโจรบังคับนางกากีให้เป็นภรรยาอีก ท่ามกลางความอิจฉาริษยาของสมุนโจร เพราะหัวหน้าโจรไม่ยอมแบ่งผู้หญิงให้เหมือนรายอื่นๆ ในที่สุดก็เกิดการแก่งแย่งนางกากีกันในหมู่โจร ถึงกับฆ่าฟันกันเอง นางกากีฉวยโอกาสหลบหนีพวกโจรได้ แต่ต้องเผชิญกับความโหดร้ายในป่าจนเกือบจะเอาชีวิตไม่รอด โชคดียังเป็นของนางกากี ที่บังเอิญมีกษัตริย์ชรานามว่าท้าวทศวงศ์ผู้เป็นหม้ายแห่งเมืองไพศาลีเสด็จมาเที่ยวป่า ได้นำนางกากีไปชุบเลี้ยงเป็นถึงมเหสี นางกากีไม่บอกความจริงให้ท้าวทศวงศ์เพราะกลัวความไม่ดีของตนเองจะทำให้ท้าวทศวงศ์ไม่รับอุปการะ จิตใจของนางยังไม่เป็นสุขถึงจะได้เป็นถึงมเหสี แต่ท้าวทศวงศ์ก็โปรดปรานมเหสีร่างงามและกลิ่นกายหอม


วรรณคดี

วรรณคดี หมายถึง วรรณกรรมหรืองานเขียนที่ยกย่องกันว่าดี มีสาระ และมีคุณค่าทางวรรณศิลป์ การใช้คำว่าวรรณคดีเพื่อประเมินค่าของวรรณกรรมเกิดขึ้นในพระราชกฤษฎีกาตั้งวรรณคดีสโมสรในสมัยรัชกาลที่ 6
วรรณคดี เป็นวรรณกรรมที่ถูกยกย่องว่าเขียนดี มีคุณค่า สามารถทำให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์สะเทือนใจ มีความคิดเป็นแบบแผน ใช้ภาษาที่ไพเราะ เหมาะแก่การให้ประชาชนได้รับรู้ เพราะ สามารถ ยกระดับจิตใจให้สูงขึ้น รู้ว่าอะไรควรหรือไม่ควร

ประเภท
วรรณคดีแบ่งออกเป็น 2 ประเภท

วรรณคดีมุขปาฐะ

คือ วรรณคดี แบบที่เล่ากันมาปากต่อปาก ไม่ได้บันทึกไว้ เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น เพลงพื้นบ้าน นิทานชาวบ้าน บทร้องเล่น

วรรณคดีราชสำนัก หรือ วรรรคดีลายลักษณ์

วรรณคดีในภาษาไทย

  • วรรณคดี หมายถึง วรรณกรรมหรืองานเขียนที่ยกย่องกันว่าดี มีสาระ และมีคุณค่าทางวรรณศิลป์ การใช้คำว่าวรรณคดีเพื่อประเมินค่าของวรรณกรรมเกิดขึ้นในพระราชกฤษฎีกาตั้งวรรณคดีสโมสรในสมัยรัชกาลที่ 6
  • วรรณคดี เป็นวรรณกรรมที่ถูกยกย่องว่าเขียนดี มีคุณค่า สามารถทำให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์สะเทือนใจ มีความคิดเป็นแบบแผน ใช้ภาษาที่ไพเราะ เหมาะแก่การให้ประชาชนได้รับรู้ เพราะ สามารถ ยกระดับจิตใจให้สูงขึ้น รู้ว่าอะไรควรหรือไม่ควร

วรรณคดีในภาษาไทย

วรรณคดีในภาษาไทย ตรงกับคำว่า "Literature ในภาษาอังกฤษ" โดยคำว่า Literature ในภาษาอังกฤษมาจากภาษาลาติน แปลว่า การศึกษา ระเบียบของภาษา ซึ่งในภาษาอังกฤษจะมีความหมายหลายอย่าง ดังนี้